การฝังเข็ม (จีน: อังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกายของทั้งมนุษย์และสัตว์ ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลักและอีก 2 เส้นรอง จำนวนเส้นลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซ้าย) มี 12 เส้น โดยแบ่งเป็นส่วนของแขน 6 เส้น และส่วนของขาอีก 6 เส้น (ส่วนอีก 2 เส้นรองจะอยู่ตรงกลางหลังและตรงกลางหน้าท้อง) ในส่วนของแขน 6 เส้น ก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ เช่นเดียวกับขาก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ แต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่ของมันอย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่าง 2 เส้นใน 6 เส้นบนแขน เส้นของปอดและ ลำไส้ใหญ่ โดยเส้นของปอดจะสิ้นสุดที่ข้างหัวนิ้วโป้ง ส่วนเส้นของลำไส้ใหญ่ จะเริ่มบริเวณด้านข้างปลายนิ้วชี้ทั้ง2เส้น นี้คือเส้นของปอดและลำไส้ใหญ่จะ สัมพันธ์กันแบบภายนอกและภายใน เป็นแบบ External & Internal relationship เส้นของปอดมีชื่อเรียกว่า เส้นไท่อินปอด (Taiyin lung meridian) เส้นของลำไส้ใหญ่มีชื่อเรียกว่า เส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ (Yangming large intestine meridian)
ในเส้นลมปราณแต่ละเส้น จะมีจุดฝังเข็ม (Acupunture points) หลายจุดจำนวนแตกต่างกันไปมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น บนเส้นไท่อินปอดจะมีอยู่ 11 จุด บนเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่จะ มีอยู่ 20 จุด แต่ละจุดก็จะมีชื่อเรียกของตัวเองทุกจุดชื่อของจุดจะแตกต่าง กันออกไป และทุกชื่อก็จะมีความหมายของตัวเอง ชื่อทั้งหมดเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง เช่นจุดที่บริเวณด้านข้าง ปลายนิ้วโป้งของเส้นไท่อินปอด มี ชื่อเรียกว่า จุดเซ่าซาง (Shao Shang) หรือจุดแรกของเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ ที่ปลายนิ้วชี้ด้านข้างมีชื่อว่าจุดซางหยาง (Shang Yang) สำหรับคนต่างชาติการจะไปจำชื่อจุด ฝังเข็มนับร้อยจุดเป็นชื่อจีนกลางเป็นเรื่องยาก ทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดรหัสขึ้นมาแทนชื่อจุดเหล่านั้น เช่นจุดเซ่าซางมีรหัสเป็น LU-11 จุดซางหยางมีรหัสเป็น LI-1 เป็นต้น

การฝังเข็มรักษาโรคทั่วไป
- กลุ่มอาการปวดต่างๆเช่นปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหูหูดับ
- โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
- โรคเครียดนอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วงงูสวัด ผื่นต่างๆ
- โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
- โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึกปวดท้องเรื้อรัง
- โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
- โรคเบาหวาน
- ลดความอ้วนและเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
- ยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ยาเสพติด
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย

โรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม
1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด
อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลังปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือนปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือนปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาทหรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า
โรคอาการทั่วไปอัมพฤกษ์และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัดเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวลนอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นไส้รอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ยาเสพติด
2. การรักษาที่ให้ผลดีอาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็กเด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก)อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด
3. การรักษาที่ได้ผลท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อยปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ
เมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ.2522 องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง“การฝังเข็ม” ขึ้นที่นครปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คนจาก 12 ประเทศ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีฝังเข็มได้แก่
- กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่นปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหูหูดับ
- โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
- โรคเครียดนอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วงงูสวัด ผื่นต่างๆ
- โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
- โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึกปวดท้องเรื้อรัง
- โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
- โรคเบาหวาน
- ลดความอ้วนและเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
- เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ยาเสพติด
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
ชนิดการรักษาในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน
- การฝังเข็มร่างกาย (Body Acupuncture)
- การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture)
- การฝังร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (Electro Acupuncture)
- การฝังเข็มหรือ Magnetic Ball บนใบหู (Ear Acupuncture)
- การเคาะกระตุ้นผิวหนัง (Cutaneous Needle)
- การเจาะปล่อยเลือด (Blood Letting)
- การครอบแก้ว (Cupping)
- การรมยา (Moxibusion)

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
หลังจากที่ฝังเข็มแล้วใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะแรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิก เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าและไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
- ขณะตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด
- โรคเลือดหรือมีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
- โรคเร่งด่วนที่ต้องการการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
- โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรับบริการฝังเข็ม
ก่อนฝังเข็ม
- รับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในขณะอ่อนเพลียหรือท้องว่างจะมีโอกาส
เสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย - สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงที่สามารถรูดขึ้นเหนือเข่าได้สะดวก
ขณะฝังเข็ม
- การอยู่ในลักษณะผ่อนคลายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบลมปราณและปรับสมดุลย์ร่างกาย
- ถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ เช่น มีอาการหน้ามืดเป็นลมต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที
หลังการฝังเข็ม
- ไม่ควรขับขี่ยวดยานพาหนะทันทีหลังการฝังเข็มเพราะอาจเกิดการง่วงนอน
- อาจมีอาการปวดร้าว เจ็บ หรือรอยช้ำ บริเวณที่ฝังเข็ม แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
ระยะเวลาในการรักษา
โดยปกติความถี่ในการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆของโรคที่มารับการรักษา โดยทั่วไปประมาณสัปดาห์ละ 1-2ครั้ง
และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นในการรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที