ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)

ภาวะมีบุตรยาก INFERTILITY

ภาวะมีบุตรยาก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม ภาวะร่างกายที่ผิดปกติของทั้งสามีและภรรยา การรับประทานยา โรคเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีผลกับฮอร์โมนและการตกไข่ ความเครียด อายุ ฯลฯ มีผลทำให้มีลูกยาก สำหรับทางคลินิกเราให้บริการตรวจรักษาภาวะมีบุตรยากแบบบูรณาการ โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจหาสาเหตุทั้งทางแผนปัจจุบันคือการซักประวัติ การตรวจเลือด การตรวจน้ำเชื้ออสุจิ การตรวจอัลตร้าซาวน์ และรวมถึงการจับชีพจร หรือ”การแมะเพื่อหาสาเหตุของโรค หลังจากนั้นจึงวางแผนการรักษา ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งมีทั้งการรับประทานยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร การฝังเข็ม การรมยา การครอบแก้ว  

สาเหตุของการมีบุตรยากในทัศนะของแพทย์แผนปัจจุบัน

1.ฝ่ายชาย พบความผิดปกติประมาณ 40 %

  • การผลิตน้ำเชื้ออสุจิ เช่น จำนวนอสุจิน้อย อสุจิไม่แข็งแรง อสุจิมีรูปร่างผิดปกติ อสุจิเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ
  • อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ เช่น ท่อน้ำเชื้อตีบตัน ถุงอัณฑะผิดปกติ

2.ฝ่ายหญิง พบความผิดปกติประมาณ 60 %

  • ภาวะไม่ตกไข่ เช่น ฮอร์โมนผิดปกติ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหรือฮอร์โมนอื่นๆที่ผิดปกติ เช่น ภาวะธัยรอยด์เป็นพิษ
  • อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่ตีบหรือตัน ผนังมดลูกผิกปกติ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกมดลูก ซีสต์ เยื่อบุผนังมดลูกผิดปกติ

สาเหตุของการมีบุตรยากในทัศนะของแพทย์แผนจีน

  • ภาวะเลือดลมพร่อง มักเกิดขึ้นกับฝ่ายหญิง เลือดลมพร่องคือมีน้อยเกินไป ก็จะสังเกตุเห็นอาการเหล่านี้ คือ อาการใบหน้าซีดเซียว เลือดน้อย วิงเวียน อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อยๆ
  • ภาวะหยินพร่อง ในฝ่ายหญิงก็จะทำให้ภาวะการตกไข่ผิดปกติ หรือไข่ไม่ตก เนื่องจากฮอร์โมนพร่องหรือน้อยผิดปกติ อาการที่สังเกตุได้คือ ประจำเดือนมาน้อย ขาดๆหายๆในบางเดือน หรือมากระปริดกระปรอย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน มีอาการของหยินพร่องร่วมด้วย คือ ปากคอแห้ง นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เหงื่อออกตอนนอนหลับกลางคืน ร้อนใน ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ร้อนอก ปัสสาวะน้อย
  • ภาวะตับไตพร่อง เป็นสาเหตุที่ทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติเกิดได้ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ถ้าเกิดในฝ่ายชายก็จะทำให้มีอสุจิที่ผิดปกติ ฝ่ายหญิงก็จะไข่ไม่ตก อาการของตับพร่องคือ หงุดหงิดง่าย ตกใจง่าย ส่วนภาวะไตพร่องคือปวดเมื่อยเอว เมื่อยเข่า กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

วิธีการรักษาทางคลินิกภาวะมีบุตรยาก

  1. การใช้ยา

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสมดุล และรักษาภาวะต่างๆที่ผิดปกติ ที่ข้องกับภาวะไข่ตกในผู้หญิง และความสมบูรณ์ของอสุจิในผู้ชาย เช่น ยากระตุ้นไข่ตก ฮอร์โมน ยาสมุนไพรปรับประจำเดือน สมุนไพรบำรุงร่างกาย วิตะมิน ดีท๊อกซ์ ฯลฯ

  1. การรักษาแบบแผนจีน
  • การฝังเข็มภาวะมีบุตรยาก

สำหรับฝ่ายหญิง แพทย์จะฝังเข็มส่วนใหญ่บริเวณหน้าท้องระดับสะดือลงไป ซึ่งเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะวืบพันธุ์ฝ่ายหญิง คือ มดลูกและรังไข่ เพื่อกระตุ้นเลือดลมบริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อปรับสภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆให้เป็น

 สำหรับฝ่ายชาย แพทย์จะให้การวินิจฉัยก่อนว่า มีสาเหตุเกิดจากอะไร จึงจะเลือดจุดฝังเข็มที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็นจุดบริเวณหน้าท้อง แขนและขา

  • เวลาในการฝังเข็ม :  หลังจากฝังแล้ว แพทย์จะคาเข็มไว้ครั้งละ 30 นาที ล้วจึงถอนออก
  • ความถี่ในการฝังเข็ม : ควรมารับการฝังเข็มอย่างน้อยสัปดาห์ละ2-3 ครั้ง
  • คอร์สฝังเข็มมีบุตรยาก : คอร์สละ 10 ครั้ง